การกำกับดูแลกิจการ (Corporate Governance) หรือบรรษัทภิบาล ตามความหมายของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย คือ ระบบที่จัดให้มีโครงสร้าง และกระบวนการของความสัมพันธ์ระหว่างคณะกรรมการ ฝ่ายจัดการ และผู้ถือหุ้น เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขัน นำไปสู่การเจริญเติบโตและเพิ่มมูลค่าให้กับผู้ถือหุ้นในระยะยาว โดยคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียอื่นด้วย ดังนั้น คณะกรรมการบริษัทจึงได้ดำเนินธุรกิจภายใต้หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีตามหลักเกณฑ์การกำกับดูแลกิจการที่ดี และระเบียบปฏิบัติของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เพื่อเสริมสร้างองค์กรให้มีระบบการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพ และเป็นพื้นฐานของการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 5 หมวด ดังนี้ |
|
ในวันประชุมผู้ถือหุ้น กรรมการบริษัทจะเข้าร่วมประชุมทุกท่านหากไม่มีเหตุจำเป็นซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ซึ่งในปีที่ผ่านมา มีกรรมการบริษัทเข้าร่วมประชุมทุกท่าน เมื่อเริ่มประชุมประธานในที่ประชุมซึ่งเป็นประธานกรรมการได้แจ้งกฎเกณฑ์ที่ใช้ในการประชุม และให้สิทธิผู้ถือหุ้นได้เลือกกรรมการเป็นรายบุคคล รวมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นได้แสดงความคิดเห็นและซักถามในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการประชุมหรือเกี่ยวข้องกับบริษัท นอกจากนี้ บริษัทได้เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นได้ส่งคำถามมายังบริษัทล่วงหน้าผ่านทางอีเมลของบริษัทอีกด้วย อีกทั้ง บริษัทไม่มีการแจกเอกสารที่มีข้อมูลสำคัญเพิ่มเติมในที่ประชุมผู้ถือหุ้นอย่างกระทันหัน ไม่เพิ่มวาระการประชุมหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลสำคัญโดยไม่แจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบล่วงหน้า ไม่จำกัดสิทธิในการเข้าประชุมของผู้ถือหุ้นที่มาสายอีกด้วย (หากผู้ถือหุ้นท่านใดมาสาย ก็ยังมีสิทธิเข้าร่วมประชุมและออกเสียงในวาระถัดไป) |
ในปี 2560 ไม่มีข้อพิพาทฟ้องร้อง หรือข้อร้องเรียนใดๆ ระหว่างบริษัท กับผู้ถือหุ้น
โดยในปี 2560 บริษัทไม่มีข้อพิพาทฟ้องร้อง หรือข้อร้องเรียนใดๆ ระหว่างบริษัท กับพนักงาน
โดยในปี 2560 ไม่มีข้อพิพาทฟ้องร้อง หรือข้อร้องเรียนใดๆ ระหว่างบริษัท กับลูกค้า นโยบายการปฏิบัติต่อเจ้าหนี้ คณะกรรมการบริษัทได้กำหนดนโยบายเกี่ยวกับการปฏิบัติที่เป็นธรรมและรับผิดชอบต่อเจ้าหนี้โดยเฉพาะเรื่องเงื่อนไขค้ำประกัน การบริหารเงินทุน และกรณีที่เกิดการผิดนัดชำระหนี้ไว้อย่างชัดเจนเป็นรูปธรรมและเปิดเผยถึงการปฏิบัติไว้ให้เป็นที่ทราบ เช่น ด้านการบริหารเงินทุน บริษัทมีนโยบายที่จะรักษาอัตราส่วนสภาพคล่องให้อยู่ในระดับสูงเพียงพอ และรักษาอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เพื่อให้บริษัทมีความสามารถในการชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้ได้อย่างต่อเนื่อง ตรงตามกำหนดเวลา ด้านเงื่อนไขการค้ำประกัน บริษัทมีนโยบายที่จะดูแลผู้ที่ค้ำประกันไม่ให้ได้รับความเสียหาย หากมีปัญหาบริษัทจะเข้าไปรับผิดชอบ ด้านการผิดนัดชำระหนี้ บริษัทมีนโยบายที่จะไม่ผิดนัดชำระหนี้ บริษัทจะเร่งเข้าไปจัดการ และแก้ไขปัญหาเพื่อให้สามารถชำระหนี้คืนแก่เจ้าหนี้ โดยในปี 2560 บริษัทได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่มีต่อเจ้าหนี้โดยครบถ้วนและไม่มีเหตุการณ์ผิดนัดชำระหนี้ใดๆ บริษัทปฏิบัติกับคู่ค้าซึ่งเป็นหุ้นส่วนและปัจจัยแห่งความสำเร็จทางธุรกิจที่สำคัญประการหนึ่งด้วยความเสมอภาค และคำนึงถึงผลประโยชน์ร่วมกัน โดยบริษัทได้ยึดหลักปฏิบัติดังต่อไปนี้
โดยในปี 2560 ไม่มีข้อพิพาทฟ้องร้อง หรือข้อร้องเรียนใดๆ ระหว่างบริษัท กับคู่ค้าและคู่สัญญา บริษัทดำเนินธุรกิจภายใต้กรอบกติกาของการแข่งขันที่เป็นธรรม โดยยึดหลักปฏิบัติดังนี้
โดยในปี 2560 ไม่มีข้อพิพาทฟ้องร้อง หรือข้อร้องเรียนใดๆ ระหว่างบริษัท กับคู่แข่งทางการค้า
โดยในปี 2560 บริษัทให้ความสำคัญต่อการรับผิดชอบต่อสังคมและส่วนรวม โดยปฏิบัติตามข้อกฎหมาย หรือข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการดูแลเรื่องสิ่งแวดล้อมและมีมาตรการการจัดการเกี่ยวกับความปลอดภัยในการดำเนินงานด้วย โดยในด้านสิ่งแวดล้อม บริษัทได้กำหนดมาตรการในการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมทั้งส่วนหน่วยงานและโรงงานซ่อมบำรุง นอกจากนี้ บริษัทได้มีการรณรงค์ให้พนักงานช่วยกันประหยัดทรัพยากรและพลังงานด้านต่างๆ ทั้งการใช้ไฟฟ้า น้ำประปา และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้น้ำมัน ซึ่งจากการติดตามพบว่า มีการใช้น้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ในปี 2560 บริษัทเห็นว่าโรงพยาบาลรัฐบางแห่งยังขาดแคลนอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นหลายรายการ จึงทำการสำรวจและพบว่าโรงพยาบาลปทุมธานีซึ่งเป็นโรงพยาบาลรัฐยังขาดแคลนอุปกรณ์เครื่องวัดออกซิเจนในเลือดและความดันโลหิตสำหรับใช้ที่หน่วย OPD โดยเครื่องมีคุณสมบัติทั่วไป คือ เครื่องวัดความดันโลหิตอัตโนมัติ ชนิดไม่แทงเส้น (Non – Invasive Blood Pressure) สามารถใช้งานได้ตั้งแต่เด็กแรกเกิดจนถึงผู้ใหญ่ โดยใช้วิธีการวัดแบบ Oscillometric ในการหาค่าความดัน Systolic, Diastolic, Mean Arterial Pressure (MAP) และอัตราการเต้นของหัวใจ (Pulse Rate) พร้อมวัดความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดโดยวัดผ่านทางผิวหนัง อีกทั้ง มีคุณลักษณะเฉพาะอีกหลายประการที่เป็นการเพิ่มศักยภาพในการรักษาคนไข้ให้เพียงพอต่อความต้องการที่มากขึ้นในทุกๆวัน โดยบริจาคเป็นจำนวน 1 เครื่อง คิดเป็นมูลค่า 100,000 บาท และบริษัทได้บริจาคเงินสดเพื่อการกุศลงานกาชาด งานทอดกฐินสามัคคี และสนับสนุนงานวิ่งกับมูลนิธิ โรงพยาบาลเด็กเป็นจำนวนเงินรวม 60,000 บาท
นอกจากนี้ บริษัทได้กำหนดแนวทางปฏิบัติในการจัดจ้างแรงงานทั้งพนักงานและคู่ค้าทางธุรกิจโดยการปฏิบัติตามกฎหมายแรงงานโดยเคร่งครัด ทั้งในเรื่องการจ้างงานเด็ก หรือการบังคับใช้แรงงาน รวมทั้งการจัดให้มีระบบการทำงานที่มุ่งเน้นความปลอดภัยและสุขอนามัยในสถานที่ที่เหมาะสม โดยในปี 2560 ไม่เคยมีการรายงานหรือการร้องเรียนเกี่ยวกับการฝ่าฝืนในเรื่องสิทธิมนุษยชน 3.3 ทรัพย์สินทางปัญญาหรือลิขสิทธิ์ คณะกรรมการบริษัทส่งเสริมให้มีการให้ความรู้ และฝึกอบรมพนักงานในเรื่องสิ่งแวดล้อม โดยกำหนดเป็นนโยบาย และเปิดเผยถึงการปฏิบัติให้เป็นที่ทราบอย่างชัดเจน ถือเป็นแนวปฏิบัติอย่างเคร่งครัด และปฏิบัติตามกฎหมายและมาตรฐานทางด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆ และได้เปิดเผยไว้ในหัวข้อที่ 10 เรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม บริษัทมีนโยบายที่จะเปิดโอกาสให้มีผู้มีส่วนได้เสียทั้งภายในและภายนอกองค์กรแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการกระทำผิดกฏหมาย จรรยาบรรณ การถูกละเมิดสิทธิ รายงานทางการเงินที่ไม่ถูกต้อง หรือระบบควบคุมภายในที่บกพร่องต่อคณะกรรมการบริษัทได้ โดยผู้มีส่วนได้เสียสามารถแจ้งต่อกรรมการตรวจสอบและกำกับดูแลกิจการท่านใดท่านหนึ่งหรือเลขานุการบริษัท เพื่อนำเสนอให้คณะกรรมการตรวจสอบและกำกับดูแลกิจการพิจารณาตรวจสอบข้อเท็จจริง เมื่อคณะกรรมการตรวจสอบและกำกับดูแลกิจการพิจารณาแล้วให้รายงานต่อคณะกรรมการบริษัทเพื่อพิจารณาดำเนินการตามที่คณะกรรมการบริษัทเห็นสมควรต่อไป (เปิดเผยใน 56-1 หมวดที่ 3 บทบาทของผู้มีส่วนได้เสีย)
ช่องทางสำหรับผู้มีส่วนได้เสียในการแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียน 1. กรรมการตรวจสอบและกำกับดูแลกิจการทั้ง 3 ท่าน ทาง Email ดังนี้
โดยในปี 2560 คณะกรรมการตรวจสอบและกำกับดูแลกิจการไม่ได้รับเรื่องร้องเรียนใดๆ ทั้งจากบุคคลภายใน และภายนอกองค์กร |
บริษัทจัดให้มีการเปิดเผยข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับบริษัท ทั้งข้อมูลทางการเงินและข้อมูลที่มิใช่ข้อมูลทางการเงินทางเว็บไซต์ของบริษัท โดยบริษัทได้เปิดเผยข้อมูลขององค์กร การกำกับดูแลกิจการที่ดี โครงสร้างผู้ถือหุ้น โครงสร้างคณะกรรมการบริษัท รวมทั้งข่าวสารต่างๆ ของบริษัททั้งจากภายในและภายนอกทางเว็บไซต์ของบริษัท ซึ่งข้อมูลส่วนใหญ่จะมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และสามารถดาวน์โหลดรายงานประจำปี แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ56-1) และงบการเงินของบริษัทได้ ซึ่งจะทำให้ผู้ถือหุ้นหรือนักลงทุนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้สะดวก
นอกจากนี้ บริษัทได้จัดตั้งทีมงานนักลงทุนสัมพันธ์ เพื่อทำหน้าที่สื่อสารกับผู้ถือหุ้น นักลงทุน และนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ทั่วไปอย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งผู้บริหารมีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและพบปะนักลงทุน เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ดีต่อการบริหารงานของบริษัท และได้กำหนดช่วงเวลางดรับนัดหรือตอบคำถามเกี่ยวกับผลประกอบการในอนาคตอันใกล้ให้แก่นักวิเคราะห์ และนักลงทุน (Quiet Period) ไว้ 1 เดือน ก่อนการเปิดเผยงบการเงิน โดยกิจกรรมในปี 2560 มีดังนี้
|
ทั้งนี้บริษัทได้มีการปรับปรุงข้อมูลในเว็บไซต์ให้ครบถ้วนและเป็นปัจจุบันอยู่เสมอ โดยข้อมูลที่บริษัทนำเสนอผ่านเว็บไซต์นั้นมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ซึ่งสามารถสรุปหัวข้อได้ดังนี้
ในรอบปีที่ผ่านมา บริษัทไม่เคยมีประวัติการถูกสั่งให้แก้ไขงบการเงินโดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และได้เปิดเผยงบการเงินประจำปีและรายไตรมาส ต่อผู้ถือหุ้นและนักลงทุนก่อนครบกำหนดระยะเวลา
บริษัทตระหนักถึงความสำคัญในการเปิดเผยข้อมูลสารสนเทศแก่ผู้ลงทุนเพื่อให้นักลงทุนได้รับทราบข้อมูลที่ถูกต้อง โปร่งใส และทั่วถึง บริษัทจึงจัดทีมงานนักลงทุนสัมพันธ์เพื่อรับผิดชอบติดต่อประสานงานกับนักลงทุน และผู้ถือหุ้น โดยสามารถติดต่อได้ที่ email: info@pylon.co.th หรือติดต่อที่
นางสาวฐิติมา เตียวประทีป หมายเลขโทรศัพท์ 02-615-1259 ต่อ 108
Email : thitima@pylon.co.th
นายวีรทัศน์ จิรเดชวิโรจน์ หมายเลขโทรศัพท์ 02-615-1259 ต่อ 401
Email : veeratas@pylon.co.th
นายชัยพล สุทธมนัสวงษ์ หมายเลขโทรศัพท์ 02-615-1259 ต่อ 301
Email : chaiyaphol@pylon.co.th
นางสาวนิภาวรรณ โรจนบัณฑิต หมายเลขโทรศัพท์ 02-661-8242 ต่อ 302
Email : nipawan@pylon.co.th
คณะกรรมการบริษัทมีจำนวน 10 ท่าน โดยแบ่งเป็นกรรมการอิสระจำนวน 4 ท่าน และกรรมการที่เป็นผู้บริหารจำนวน 4 ท่าน และกรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหารอีก 2 ท่าน ซึ่งคณะกรรมการบริษัทประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิหลากหลายสาขา ทั้งด้านกฎหมาย บัญชี การเงินการธนาคาร เศรษฐศาสตร์ การกำกับดูแล รวมถึงงานวิศวกรรม ซึ่งล้วนแต่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท
ทั้งนี้ คณะกรรมการบริษัทได้กำหนดคุณสมบัติของกรรมการอิสระที่เข้มกว่าข้อกำหนดของก.ล.ต.และตลท. คณะกรรมการบริษัทได้แต่งตั้งคณะกรรมการชุดย่อยจำนวน 3 ชุด ได้แก่ คณะกรรมการตรวจสอบและกำกับดูแลกิจการ คณะกรรมการบริหารกิจการและบริหารความเสี่ยง และคณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน โดยคณะกรรมการชุดย่อยมีขอบเขตอำนาจหน้าที่ และคุณสมบัติซึ่งกำหนดโดยคณะกรรมการบริษัท ทั้งนี้ คณะกรรมการชุดย่อยจะรายงานผลการปฏิบัติงานให้คณะกรรมการบริษัทรับทราบเป็นรายไตรมาส และคณะกรรมการบริหารกิจการและบริหารความเสี่ยงจะรายงานผลการดำเนินงานให้คณะกรรมการบริษัทรับทราบเป็นรายไตรมาส
บทบาทหน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริษัท
5.1 หน้าที่คณะกรรมการบริษัท
คณะกรรมการบริษัทได้พิจารณาอนุมัติวิสัยทัศน์ ทิศทางแนวโน้มของธุรกิจ ประมาณการรายได้ประจำปี รวมถึงพิจารณาอนุมัติงบประมาณลงทุนประจำปี นอกจากนี้ได้พิจารณาทบทวนนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี และนโยบายการบริหารความเสี่ยง รวมถึงรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (ถ้ามี) และให้ความเห็นเรื่องความเพียงพอของระบบควบคุมภายใน โดยตั้งแต่ปี 2550 คณะกรรมการบริษัทได้เริ่มมีการประเมินผลการปฏิบัติงานทั้งคณะ ส่วนค่าตอบแทนกรรมการ คณะกรรมการบริษัทได้กำหนดนโยบายและหลักเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทน ซึ่งได้ผ่านการอนุมัติจากผู้ถือหุ้น ทั้งนี้ ได้มีการเปรียบเทียบกับอุตสาหกรรมและพิจารณาผลการดำเนินงานของบริษัทประกอบ นอกจากนี้คณะกรรมการบริษัทได้กำหนดค่าตอบแทนให้แก่คณะกรรมการชุดย่อย ยกเว้นคณะกรรมการบริหารกิจการและบริหารความเสี่ยงรวมถึงกรรมการผู้จัดการใหญ่ที่ได้รับผลตอบแทนในฐานะพนักงานบริษัทแล้ว ส่วนค่าตอบแทนกรรมการผู้จัดการใหญ่จะมีการกำหนดตามผลการประเมินของคณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทนเริ่มตั้งแต่การปฏิบัติงานในปี 2551
วิสัยทัศน์ ภารกิจ และกลยุทธ์ของบริษัท
คณะกรรมการมีการกำหนดวิสัยทัศน์ เป้าหมาย(ที่สอดคล้องกับภารกิจ) และได้มีส่วนร่วมในการพิจารณาทบทวนและอนุมัติวิสัยทัศน์ เป้าหมาย กลยุทธ์ และทิศทางการดำเนินงานในแต่ละปี รวมถึงได้ติดตามดูแลให้มีการนำกลยุทธ์ของบริษัทไปปฏิบัติ
นโยบายและวิธีปฏิบัติในการดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัทอื่นของกรรมการและกรรมการผู้จัดการใหญ่
คณะกรรมการบริษัทให้ความสำคัญกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการ เพื่อให้กรรมการสามารถอุทิศเวลาในการกำกับดูแลกิจการของบริษัทได้อย่างเต็มที่ จึงกำหนดเป็นนโยบายในการจำกัดจำนวนบริษัทจดทะเบียนที่กรรมการดำรงตำแหน่งกรรมการได้ไม่เกิน 5 แห่ง โดยในปัจจุบันไม่มีกรรมการบริษัทที่ดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัทจดทะเบียนเกินหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้
นอกจากนี้คณะกรรมการบริษัทได้กำหนดนโยบายในการไปดำรงตำแหน่งกรรมการที่บริษัทอื่นของกรรมการและกรรมการผู้จัดการใหญ่ดังนี้ คือ กรรมการและกรรมการผู้จัดการใหญ่ จะต้องไม่ประกอบกิจการอันมีสภาพอย่างเดียวกันและเป็นการแข่งขันกับกิจการของบริษัท หรือเข้าเป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือเป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือเป็นกรรมการของบริษัทเอกชน หรือบริษัทอื่นที่ประกอบกิจการอันมีสภาพอย่างเดียวกัน และเป็นการแข่งขันกับกิจการของบริษัทไม่ว่าจะทำเพื่อประโยชน์ตนหรือเพื่อประโยชน์ผู้อื่น เว้นแต่จะได้แจ้งให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นทราบก่อนที่จะมีมติแต่งตั้ง
โดยในปัจจุบันกรรมการ และกรรมการผู้จัดการใหญ่ไม่ได้ดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัทอื่นที่ประกอบกิจการอันมีสภาพอย่างเดียวกันและเป็นการแข่งขันกับกิจการของบริษัท นอกจากนี้กรรมการและกรรมการผู้จัดการใหญ่ไม่ได้เข้าเป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือเป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือเป็นกรรมการของบริษัทเอกชน หรือบริษัทอื่นที่ประกอบกิจการอันมีสภาพอย่างเดียวกันและเป็นการแข่งขันกับกิจการบริษัท
การกำหนดวาระการดำรงตำแหน่งกรรมการ
บริษัทได้ถือปฏิบัติตาม พระราชบัญญัติมหาชน จำกัด พ.ศ.2535 ให้กรรมการออกจากตำแหน่งจำนวนหนึ่งในสามในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี โดยคณะกรรมการบริษัท ประกอบด้วยบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ โดยบริษัทได้จัดให้มีจำนวนกรรมการที่เหมาะสมกับขนาดของกิจการบริษัท ในปัจจุบันมีกรรมการทั้งหมด 10 คน ซึ่งเป็นกรรมการที่เป็นผู้บริหารจำนวน 4 คน กรรมการที่ไม่ได้เป็นผู้บริหาร 2 คน กรรมการอิสระ 4 คน ทั้งนี้กรรมการแต่ละคนมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 3 ปี
จริยธรรมทางธุรกิจและข้อพึงปฏิบัติการทำงาน
บริษัทได้ดำเนินธุรกิจและบริหารงานอย่างมีจรรยาบรรณ และให้ความสำคัญกับความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของการบริหารงาน โดยยึดถือความมีจริยธรรม ความซื่อสัตย์ สุจริต เป็นหลักในการทำธุรกรรม รวมถึงการดูแลผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่างๆ รายการระหว่างกัน การปฏิบัติตามกฎหมายและการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ โดยได้จัดทำจริยธรรมธุรกิจ และข้อพึงปฏิบัติในการทำงานเพื่อเป็นคู่มือวิธีการปฏิบัติงานให้เกิดความสำเร็จ และได้จัดการอบรมเพื่อให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานเห็นความสำคัญและนำไปฏิบัติ โดยในปี 2560 กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัทได้ปฏิบัติตามจริยธรรมธุรกิจอย่างเคร่งครัด โดยบริษัท เปิดเผยไว้ในเว็บไซต์ของบริษัท
นโยบายความขัดแย้งทางผลประโยชน์
คณะกรรมการบริษัทได้กำหนดนโยบายเกี่ยวกับความขัดแย้งทางผลประโยชน์ และแนวทางการปฏิบัติสำหรับกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน เพื่อป้องกันปัญหาความขัดแย้งทางผลประโยชน์ไว้ในจริยธรรมธุรกิจ
นอกจากนี้ คณะกรรมการบริษัทยังมีนโยบายให้กรรมการแต่ละคนต้องรายงานการมีส่วนได้เสียให้บริษัททราบทุกครั้งที่เกิดรายการที่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ โดยเลขานุการบริษัทจะจัดส่งสำเนาให้ประธานกรรมการบริษัททราบด้วย
ระบบควบคุมภายใน และการบริหารความเสี่ยง
คณะกรรมการบริษัทให้ความสำคัญต่อระบบการควบคุมภายใน โดยในการประชุมคณะกรรมการบริษัทครั้งที่ 5/2560 เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2560 คณะกรรมการบริษัทได้ประเมินความเพียงพอของระบบควบคุมภายในจากรายงานของคณะกรรมการตรวจสอบและกำกับดูแลกิจการ (ซึ่งได้มีการพิจารณาในที่ประชุมครั้งที่ 5/2560 เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2560) การพิจารณาจากรายงานของผู้ตรวจสอบภายในอิสระ (ซึ่งเป็นไปตามแบบประเมินที่สำนักงาน ก.ล.ต. ได้ปรับปรุง และประกาศใช้เมื่อเดือน สิงหาคม 2556 ตามกรอบแนวทางการปฏิบัติด้านการควบคุมภายในของ COSO ฉบับปี 2013 ซึ่งครอบคลุมองค์ประกอบของระบบควบคุมภายใน 5 ส่วน คือ การควบคุมภายในองค์กร การประเมินความเสี่ยง การควบคุมการปฏิบัติงาน ระบบสารสนเทศและการสื่อสารข้อมูล และระบบการติดตาม ที่มีการขยายความเป็นหลักการย่อยๆ อีก 17 หลักการ) และรายงานของฝ่ายบริหาร รวมถึงการตอบข้อซักถามของฝ่ายบริหาร ซึ่งสรุปได้ว่า จากการประเมินระบบควบคุมภายในของบริษัทในด้านต่างๆ 5 ส่วน คณะกรรมการบริษัทมีความเห็นว่า บริษัทมีการควบคุมภายในที่มีความเหมาะสมและเพียงพอ ทั้งนี้รายละเอียดเรื่องระบบควบคุมภายใน บริษัทได้เปิดเผยไว้ในหัวข้อที่ 11 เรื่องการควบคุมภายใน
นอกจากนี้ คณะกรรมการบริษัทได้มีการดำเนินการเพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทมีนโยบายบริหารความเสี่ยง (Risk Management Policy) และมีระบบจัดการที่มีประสิทธิผลครอบคลุมทั่วทั้งองค์กร โดยคณะกรรมการบริษัทได้มอบหมายให้คณะกรรมการบริหารกิจการและบริหารความเสี่ยง รายงานการจัดการด้านความเสี่ยงต่อคณะกรรมการตรวจสอบและกำกับดูแลกิจการ และจัดให้มีระบบจัดการที่มีประสิทธิผลครอบคลุมทั้งองค์กร โดยให้คณะกรรมการบริหารกิจการและบริหารความเสี่ยงรายงานต่อคณะกรรมการตรวจสอบและกำกับดูแลกิจการเพื่อให้ได้รับทราบและให้ข้อแนะนำต่างๆ เป็นประจำทุกไตรมาส และให้คณะกรรมการตรวจสอบและกำกับดูแลกิจการรายงานให้คณะกรรมการบริษัทรับทราบถึงความเสี่ยงต่างๆ และแนวทางการจัดการของบริษัท ทั้งนี้เพื่อให้สามารถปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ แผนงาน และวิธีการบริหารจัดการได้อย่างทันท่วงที โดยรายละเอียดเรื่องการบริหารความเสี่ยง บริษัทได้เปิดเผยไว้ในหัวข้อปัจจัยเสี่ยงเรียบร้อยแล้ว
5.2 การประชุมคณะกรรมการบริษัท
คณะกรรมการบริษัท มีการกำหนดการประชุมคณะกรรมการบริษัทเป็นการล่วงหน้าทุกปี และจัดประชุมไม่น้อยกว่า 6 ครั้งในแต่ละปี รวมทั้งมีการประชุมกรณีพิเศษตามความจำเป็น นอกจากนี้ กรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหารได้มีการประชุมระหว่างกันอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งเพื่ออภิปรายปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับการจัดการโดยไม่มีฝ่ายจัดการร่วมด้วย โดยในการประชุมคณะกรรมการบริษัทแต่ละครั้งมีการกำหนดวาระการประชุมที่ชัดเจนทั้งวาระเพื่อทราบ และวาระเพื่อพิจารณา มีเอกสารประกอบการประชุมที่ครบถ้วน เพียงพอ และจัดส่งวาระการประชุมให้กับคณะกรรมการบริษัทล่วงหน้าอย่างน้อย 7 วัน เพื่อให้คณะกรรมการบริษัทได้มีเวลาศึกษาข้อมูลอย่างเพียงพอก่อนเข้าร่วมประชุม ในการประชุมประธานได้จัดสรรเวลาอย่างเพียงพอ เพื่อให้กรรมการทุกคนสามารถอภิปรายและแสดงความเห็นร่วมกันได้อย่างเปิดเผย โดยมีประธานกรรมการเป็นผู้ประมวลความเห็นและข้อสรุปที่ได้จากที่ประชุม บันทึกการประชุมได้มีการจัดทำเป็นลายลักษณ์อักษรโดยเลขานุการคณะกรรมการบริษัท และหลังจากที่ผ่านการรับรองจากที่ประชุมจะถูกจัดเก็บไว้ที่ตู้ห้องเก็บเอกสารสำคัญของบริษัท สำนักงานใหญ่ ชั้น 7 อาคารโอเชี่ยนทาวเวอร์1 เพื่อให้กรรมการและผู้ที่เกี่ยวข้องตรวจสอบได้
ทั้งนี้ บริษัทได้กำหนดนโยบายเกี่ยวกับองค์ประชุมขั้นต่ำ ณ ขณะที่คณะกรรมการบริษัทจะลงมติในที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทว่าต้องมีกรรมการอยู่ไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนกรรมการทั้งหมด
กรรมการทุกคนถือเป็นหน้าที่ที่ต้องเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการบริษัททุกครั้งยกเว้นมีเหตุจำเป็น โดยในปี 2560 คณะกรรมการบริษัทได้จัดการประชุมทั้งสิ้น 6 ครั้ง และมีอัตราการเข้าร่วมประชุมของกรรมการคิดเป็นร้อยละ 96.6 นอกจากนี้ยังจัดให้มีการประชุมระหว่างกรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหารเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2561 โดยมีอัตราการเข้าร่วมประชุมของกรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหารเข้าร่วมประชุมคิดเป็นร้อยละ 100
โดยรายละเอียดการเข้าร่วมประชุมของกรรมการแต่ละท่านได้เปิดเผยในหัวข้อที่ 8 การจัดการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
5.3 การประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปีของคณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการชุดย่อย และกรรมการผู้จัดการใหญ่
การประเมินผลคณะกรรมการบริษัท
คณะกรรมการจัดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริษัททั้งคณะปีละครั้ง โดยประกอบไปด้วย 6 หัวข้อดังต่อไปนี้
1. โครงสร้างและคุณสมบัติของคณะกรรมการ
2. บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะกรรมการ
3. การประชุมคณะกรรมการ
4. การทำหน้าที่ของกรรมการ
5. ความสัมพันธ์กับฝ่ายจัดการ
6. การพัฒนาตนเองของกรรมการและการพัฒนาผู้บริหาร
โดยมีกระบวนการดังนี้
เลขานุการบริษัทของคณะกรรมการจะจัดส่งแบบฟอร์มให้กรรมการแต่ละท่านทำการประเมิน และจัดส่งกลับมาเพื่อรวบรวมและสรุปผลการประเมินให้ที่ประชุมรับทราบในเดือนธันวาคมของทุกปี หากในประเด็นใดที่ได้คะแนนต่ำกว่าระดับ C จะนำไปปรับปรุงแก้ไขต่อไป โดยในปี 2560 ผลการประเมินทั้งคณะอยู่ในระดับดีเยี่ยม
การประเมินผลกรรมการรายบุคคล
การประเมินผลกรรมการรายบุคคล ครอบคลุม 3 หัวข้อ ดังนี้
1. โครงสร้างและคุณสมบัติของคณะกรรมการ
2. การประชุมของคณะกรรมการ
3. บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะกรรมการ
โดยมีกระบวนการดังนี้
เลขานุการบริษัทจะจัดส่งแบบฟอร์มให้กรรมการแต่ละท่านทำการประเมิน และจัดส่งกลับมาเพื่อรวบรวมและสรุปผลการประเมินให้ที่ประชุมรับทราบในเดือนธันวาคมของทุกปี
ทั้งนี้สามารถสรุปได้ว่า กรรมการมีคุณสมบัติ มีองค์ประกอบที่เหมาะสม และได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบอย่างดีเยี่ยม เหมาะสมตามแนวทางการปฏิบัติที่ดีของกรรมการ ส่งผลให้การประชุมคณะกรรมการบริษัทเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
การประเมินผลคณะกรรมการชุดย่อยแบบรายคณะ และรายบุคคล
การประเมินผลคณะกรรมการชุดย่อยแบบรายคณะ และรายบุคคล ได้แก่ คณะกรรมการตรวจสอบและกำกับดูแลกิจการ คณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน เป็นการใช้แบบประเมินตนเองของคณะกรรมการชุดย่อยตามที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจัดทำไว้เป็นตัวอย่าง ซึ่งสอดคล้องกับหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีและหน้าที่ความรับผิดชอบของคณะกรรมการแต่ละชุด
โดยในปี 2560 ได้ดำเนินการประเมินผลแบบรายคณะและรายบุคคล ซึ่งครอบคลุม 3 หัวข้อ ดังนี้
1. โครงสร้างและคุณสมบัติของคณะกรรมการ
2. การประชุมคณะกรรมการชุดย่อย
3. บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะกรรมการชุดย่อย
โดยมีกระบวนการดังนี้
เลขานุการบริษัทจะจัดส่งแบบฟอร์มให้กรรมการแต่ละท่านทำการประเมิน และจัดส่งกลับมาเพื่อรวบรวมและสรุปผลการประเมินให้ที่ประชุมรับทราบในเดือนธันวาคมของทุกปี
ซึ่งผลการประเมินสรุปได้ว่า คณะกรรมการตรวจสอบและกำกับดูแลกิจการ และคณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน มีองค์ประกอบที่เหมาะสม และปฏิบัติหน้าที่ได้ครบถ้วนตามกฎบัตรที่บริษัทกำหนด
การประเมินผลงานของกรรมการผู้จัดการใหญ่และนโยบายค่าตอบแทน
คณะกรรมการบริษัท ได้กำหนดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานของกรรมการผู้จัดการใหญ่เป็นประจำทุกปี โดยใช้เป้าหมายและหลักเกณฑ์ในการประเมินที่เชื่อมโยงกับความสำเร็จตามแผนการดำเนินงาน (Key Performance Indicators หรือ KPI) เพื่อพิจารณากำหนดค่าตอบแทน และเงินรางวัลจูงใจที่เหมาะสม
ทั้งนี้นโยบายค่าตอบแทนของกรรมการผู้จัดการใหญ่ นอกจากจะขึ้นอยู่กับผลประเมินการปฏิบัติงาน (KPI) ตามที่กล่าวมาข้างต้น ยังกำหนดให้สอดคล้องกับคุณสมบัติและความสามารถ สถานภาพของบริษัท รวมถึงระดับค่าตอบแทนในอุตสาหกรรมด้วย โดยมีค่าตอบแทนในรูปโบนัสและการปรับขึ้นเงินเดือน เป็นต้น
ค่าตอบแทนกรรมการและผู้บริหาร
ค่าตอบแทนกรรมการ
บริษัทมีการกำหนดนโยบายและหลักเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนกรรมการที่ชัดเจน โดยพิจารณาตามหลักเกณฑ์ของความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ รวมทั้งอยู่ในระดับที่เหมาะสมและเพียงพอที่จะจูงใจและรักษากรรมการที่มีคุณภาพตามที่ต้องการ เปรียบเทียบได้กับระดับที่ปฏิบัติอยู่ในอุตสาหกรรม ประสบการณ์ ภาระหน้าที่ ขอบเขตความรับผิดชอบ (Accountability and Responsibility) รวมถึงประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากกรรมการแต่ละท่าน โดยกำหนดองค์ประกอบเป็น 3 ส่วน คือ (1) ค่าตอบแทนรายเดือนซึ่งสะท้อนความรับผิดชอบในฐานะกรรมการ (2) เบี้ยประชุมเพื่อแสดงให้เห็นความสำคัญ และการอุทิศเวลาในการเข้าประชุม (3) โบนัสซึ่งเป็นค่าตอบแทนพิเศษที่จ่ายให้กับกรรมการปีละครั้งตามมูลค่าที่สร้างให้แก่ผู้ถือหุ้น โดยมีคณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน ทำหน้าที่พิจารณากำหนดค่าตอบแทนกรรมการในเบื้องต้น เพื่อนำเสนอที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทพิจารณาก่อนนำเสนอที่ประชุมผู้ถือหุ้นอนุมัติเป็นประจำทุกปี
ค่าตอบแทนผู้บริหาร
กรรมการผู้จัดการใหญ่จะเป็นผู้พิจารณาความเหมาะสมในการกำหนดค่าตอบแทนและการปรับค่าจ้างประจำปีของผู้บริหาร โดยผู้บริหารจะได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินเดือนและโบนัส ซึ่งเชื่อมโยงกับผลการดำเนินงานของบริษัท และผลงานของแต่ละบุคคลตามระบบ Key Performance Indicators
ทั้งนี้รายละเอียดค่าตอบแทนกรรมการและผู้บริหาร ได้เปิดเผยไว้ในหัวข้อ ค่าตอบแทนกรรมการและผู้บริหารภายใต้หัวข้อที่ 8 การจัดการ
การพัฒนากรรมการและผู้บริหาร และแผนการสืบทอดตำแหน่งผู้บริหาร
การพัฒนากรรมการ
คณะกรรมการบริษัทมีนโยบายส่งเสริมให้กรรมการพัฒนาความรู้อย่างต่อเนื่อง โดยให้มีการฝึกอบรม และการให้ความรู้ที่เกี่ยวข้องแก่กรรมการ เพื่อเพิ่มศักยภาพและปรับปรุงการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง อาทิเช่น ส่งเสริมให้มีการจัดส่งกรรมการ เข้าอบรมหลักสูตรหรือกิจกรรมสัมมนาต่างๆ เพื่อพัฒนาศักยภาพ ความรู้ และประสบการณ์
ทั้งนี้คณะกรรมการบริษัทสนับสนุนให้กรรมการอย่างน้อย 1 คนเข้าอบรมหลักสูตรหรือเข้าร่วมกิจกรรมสัมมนาที่เป็นการเพิ่มพูนความรู้ในการปฏิบัติงานในรอบปีที่ผ่านมา
โดยในปี 2560 มีกรรมการบริษัทจำนวน 1 ท่านได้เข้าอบรมหลักสูตร Corporate disclosures : what are investors looking for beyond financial measures? ของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย(IOD) ซึ่งเป็นประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่กรรมการ
ในกรณีกรรมการเข้าใหม่ บริษัทได้จัดเตรียมข้อมูลและกำหนดให้มีการปฐมนิเทศกรรมการเข้าใหม่ เพื่อให้กรรมการมีความรู้ความเข้าใจในธุรกิจของบริษัทและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง และได้พบปะกับผู้บริหารเพื่อให้กรรมการสามารถสอบถามข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการทำธุรกิจของบริษัท รวมทั้งสนับสนุนให้กรรมการใหม่ได้เข้ารับการอบรมหลักสูตรกรรมการของ IOD
ในปี 2560 มีกรรมการเข้าใหม่จำนวน 1 คน ได้รับการปฐมนิเทศซึ่งบรรยายโดยกรรมการผู้จัดการใหญ่ เนื้อหาครอบคลุมถึงลักษณะการประกอบธุรกิจ โครงสร้างและองค์ประกอบของคณะกรรมการบริษัทและคณะกรรมการชุดย่อย จรรยาบรรณ และหลักการกำกับดูแลกิจการ เป็นต้น
แผนพัฒนาและสืบทอดตำแหน่งผู้บริหาร
คณะกรรมการบริษัทได้มอบหมายให้คณะกรรมการบริหารกิจการและบริหารความเสี่ยงจัดทำแผนสืบทอดตำแหน่งตั้งแต่ระดับผู้อำนวยการฝ่ายขึ้นไปจนถึงระดับกรรมการผู้จัดการใหญ่ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าบริษัทมีผู้บริหารที่มีความรู้ ความสามารถเพียงพอต่อการปฏิบัติหน้าที่ ในการนี้แผนการสืบทอดตำแหน่งดังกล่าวรวมถึงแผนพัฒนาศักยภาพผู้บริหาร และการกำหนดความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ของแต่ละตำแหน่ง เพื่อเตรียมความพร้อมเมื่อเกิดกรณีที่ผู้บริหารไม่สามารถปฏิบัติงานได้
คณะกรรมการชุดย่อย
เพื่อให้คณะกรรมการบริษัทสามารถศึกษาและตรวจสอบข้อมูลในประเด็นที่สำคัญได้อย่างรอบคอบ คณะกรรมการบริษัทได้แต่งตั้งกรรมการที่มีความรู้ความชำนาญที่เหมาะสมเป็นคณะกรรมการชุดย่อยเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการกำกับดูแล ได้แก่ คณะกรรมการตรวจสอบและกำกับดูแลกิจการ คณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน คณะกรรมการบริหารกิจการและบริหารความเสี่ยง เป็นต้น ทั้งนี้ โครงสร้างคณะกรรมการชุดย่อย หน้าที่ความรับผิดชอบตามกฎบัตรกรรมการชุดย่อยทั้ง 3 ชุด ได้เปิดเผยไว้ในหัวข้อที่ 8 การจัดการ
นอกจากนี้ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 2/2559 เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2559 ได้มีมติจัดตั้ง CG Committee และ Risk Management Committee โดยมอบหมายให้
1. คณะกรรมการตรวจสอบทำหน้าที่คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการด้วย โดยเปลี่ยนชื่อเป็น คณะกรรมการตรวจสอบและกำกับดูแลกิจการ (Audit and CG Committee)
2. คณะกรรมการบริหารทำหน้าที่คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงด้วย โดยเปลี่ยนชื่อเป็น คณะกรรมการบริหารกิจการและบริหารความเสี่ยง (Executive and Risk Management Committee)
การดูแลเรื่องการใช้ข้อมูลภายใน
บริษัทมีนโยบายมิให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานที่รับทราบข้อมูลภายในนำข้อมูลภายในไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตนและผู้อื่น โดยบริษัทมีแนวทางปฏิบัติดังต่อไปนี้
1. บริษัทให้ความรู้แก่กรรมการและผู้บริหารเกี่ยวกับการใช้ข้อมูลภายใน หน้าที่ในการรายงานการซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทและบริษัทย่อย ของตน คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ รวมถึงบทกำหนดโทษตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และตามข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
2. กรรมการและผู้บริหารมีหน้าที่จัดทำและส่งรายงานการถือหลักทรัพย์ของบริษัทของตน คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ โดยต้องรายงานดังนี้
รายงานการถือหลักทรัพย์ครั้งแรก (แบบ 59-1) ภายใน 30 วันนับแต่วันปิดการเสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชน หรือวันที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งกรรมการหรือผู้บริหาร
รายงานการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์ (แบบ 59-2) อันเนื่องมาจากการซื้อ ขาย โอนหรือรับโอนหลักทรัพย์ ทั้งนี้ ภายใน 3 วันทำการนับตั้งแต่มีการซื้อ ขาย โอนหรือรับโอนหลักทรัพย์นั้น และให้ส่งสำเนารายงานการถือหลักทรัพย์ดังกล่าวให้แก่บริษัทภายในวันที่ส่งรายงานดังกล่าวให้แก่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
3. กำหนดให้ กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานที่รับทราบข้อมูลภายในที่มีนัยสำคัญที่อาจส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาซื้อขายหลักทรัพย์ จะต้องระงับการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ของบริษัทในช่วง 1 เดือนก่อนที่บริษัทจะมีการประกาศผลการดำเนินงาน (กำหนดเวลาในการประกาศผลการดำเนินงาน คือ 45 วันนับจากวันสิ้นไตรมาส และ 60 วันนับจากวันสิ้นปีบัญชี) หรือก่อนที่ข้อมูลภายในนั้นจะเปิดเผยต่อสาธารณชน
4. บริษัทมีจริยธรรมธุรกิจและข้อพึงปฎิบัติในการทำงานเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งมีข้อห้ามเกี่ยวกับการใช้ข้อมูลภายใน เพื่อประโยชน์ของกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานในการซื้อขายหุ้นของบริษัท หรือให้ข้อมูลภายในแก่บุคคลอื่น เพื่อประโยชน์ในการซื้อขายหุ้นของบริษัท
หากพบว่ากรรมการหรือผู้บริหารรวมทั้งพนักงานที่รับทราบข้อมูลภายในฝ่าฝืนจริยธรรมธุรกิจ และข้อพึงปฏิบัติในการทำงานในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการใช้ข้อมูลภายใน และทำให้บริษัทได้รับความเสื่อมเสียหรือเสียหาย บริษัทจะดำเนินการตามที่เห็นว่าเหมาะสมซึ่งรวมถึงการประสานงานกับหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการตามกฎหมายต่อไป